วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แคปซูนนาโน


การเก็บสารอาหารต่างๆ ลงแคปซูลซึ่งเรียกว่า "เอนแคปซูเลชัน" (encapsulation) สามารถใช้กระบวนการผลิตง่ายๆ ซึ่งมีอยู่แล้วในอุตสาหกรรมที่เรียกว่า "การเป่าแห้ง" (spray dry) โดยจะผสมสารที่ต้องการกับสารที่ต้องการใช้เป็นเปลือกหุ้ม แล้วเป่าผ่านลมร้อน สารที่ทำหน้าที่เป็นเปลือกจะหดตัวแล้วหุ้มสารที่ต้องการไว้กลายเป็นแคปซูลขนาดเล็ก แต่ทั้งนี้ก็อาจมีการปรับปรุงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในกระบวนการผลิต
"ตัวอย่างของสารที่นำไปบรรจุลงแคปซูลนาโน เช่น สารออกฤทธิ์ในมะระขี้นก ซึ่งเดิมอาจจะใช้วิธีกลบกลิ่นและรส แต่เมื่อกินไปแล้วก็ยังคงมีรสขมและกลิ่นเหม็นเขียวของมะระขี้นกอยู่ เมื่อนำไปเคลือบแคปซูลก็ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนอาหารเสริมหรือนำไปทำเป็นอาหารอื่นอย่างไอศครีมได้ หรือเคลือบน้ำมันปลาเพื่อกลบกลิ่นคาว เป็นต้น"
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นพลาสติกที่ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย โดยปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ในขั้นของการวิจัย หรืออาจจะพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ฉลาดที่สามารถระบุสถานภาพของอาหารและผัก-ผลไม้ต่างๆ ได้ว่าอยู่ในสภาพที่รับประทานได้หรือไม่
ทั้งนี้นาโนเทคมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารทั้งที่เริ่มทำแล้วและกำลังจะทำคือ การผลิตแคปซูลนาโนเก็บกลิ่นคาวของน้ำมันปลาซึ่งได้เริ่มมาครึ่งปีและทราบวิธีเก็บกลิ่นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นการตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการกักเก็บกลิ่น และกำลังจะวิจัยบรรจุภัณฑ์ที่สามารถระบุสภานภาพของอาหารได้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะตรวจจับสารตกค้างในอาหาร


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/39227