วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ท่อนาโนคาร์บอน





ท่อนาโนคาร์บอน
เทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21






ท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotubes) ค้นพบครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ.2534 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ
สุมิโอะ อีจิมะ (Sumio Iijima) ด้วยคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมทั้งใน
ทางกลและทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือมันมีความแข็งแรงที่
วัดได้ค่ามากว่าเหล็กกล้าถึงร้อยเท่า และอาจพูดได้ว่าสักวันหนึ่ง
มันจะถูกนำเข้าไปใส่แทนที่ซิลิคอนชิป หรือพวกไอซีต่างๆ ใน
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทั้งหลาย
ที่เรากำลังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ นั่นก็หมายถึงว่า สักวันหนึ่งมัน
อาจจะทำให้ซิลิคอนชิปกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปเลยทีเดียว
คาร์บอนเป็นธาตุที่มีลักษณะพิเศษสามารถพบได้ใน
หลายๆ รูปแบบโครงสร้าง (allotropic forms) ซึ่งแบ่งออกได้
เป็นสี่ชนิดหลักๆ ดังนี้
1) แบบมีโครงสร้างแข็งแรงทั้งสามมิติ โดยที่อะตอมของ
คาร์บอนทั้งหมดจะเกาะยึดด้วยพันธะโควาเลนท์ (covalent
bond) อย่างเดียวกับที่พบได้ในรูปของอัญมณีราคาแพง
คือเพชร ซึ่งมีความสวยงามและมีความแข็งที่สุดในบรรดาวัสดุ
ทั้งหลาย



(2) แบบมีโครงสร้างเป็นชั้นๆ หรือเป็นแผ่นสองมิติที่วาง
ซ้อนทับและยึดระหว่างชั้นเข้าด้วยกันด้วยแรงที่ต่ำกว่า คือแรง
แวนเดอร์วาลส์ (van der Waals force) พบว่าเป็นโครงสร้าง
ของแกรไฟต์ เช่นไส้ดินสอที่เรารู้จักกันดี
3) แบบโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นม้วนตัวเป็นท่อ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยมาก เลยทำให้มันดูเหมือนเป็น
เส้นยาวๆ ในแนวหนึ่งมิติ เรียกว่าท่อนาโนคาร์บอน (รูปที่ 1)
ซึ่งเป็นโครงสร้างของคาร์บอนแบบใหม่ที่เพิ่งค้นพบดังกล่าว



(4) แบบมีโครงสร้างเป็นก้อนขนาดเล็ก จนอาจถือว่ามันเป็น
จุดที่ไม่มีมิติหรือศูนย์มิติ เรียกว่าฟูลเลอรีนส์ (fullerenes)
ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเป็นคาร์บอนหกสิบ (C60) ที่แต่ละโมเลกุลจะ
ประกอบไปด้วยอะตอมของคาร์บอนจำนวนทั้งหมด 60 อะตอม
มาจับตัวกันด้วยพันธะโควาเลนท์ แล้วได้รูปทรงเป็นแบบก้อน
ทรงกลมกลวงคล้ายๆ ลูกตะกร้อหรือลูกบอลขนาดจิ๋ว (รูปที่ 2)

รูปที่ 2 ฟลูเลอรีน





อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก http://physics.science.cmu.ac.th/staff/pisith/carbon1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น